วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กล้วยกรอบ

กิจกรรม

ประโยชน์ของกระเพรา

ประโยชน์ของกระเพรา

    กะเพรามีกลิ่นและรสชาติที่รุนแรงเฉพาะตัว จึงมักนิยมใช้ดับกลิ่นคาวในตำราอาหารไทยเช่น ผัดกบ ผัดปลาไหล ผัดหมู ฯลฯ พล่าปลาดุก พล่ากุ้ง ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นพวกแกงต่างๆ เช่น แกงเลียงใบกะเพรา สำหรับมารดากินหลังคลอดใหม่ๆ เพื่อขับลมบำรุงธาตุให้ปกติเป็นยาขับน้ำนม นอกจากนี้ยังมีแกงป่า แกงเขียวหวาน แกงคั่ว แกงส้มมะเขือขื่น แม้แต่ต้มยำต่างๆ ใส่ใบกะเพราผัดเผ็ดต่างๆทอดใบกะเพราให้กรอบแล้วนำมาโรยหน้าอาหาร ใส่อาหารได้สารพัดนอกจากที่กล่าวมา
    กะเพราจัดเป็นพืชสมุนไพรได้อย่างเต็มตัวชนิดหนึ่ง เพราะมีสรรพคุณรักษาโรคได้หลายชนิด ทั้งตำราไทยและต่างประเทศ ก็ระบุความเป็นสมุนไพรรักษาโรคได้ของกะเพราเอาไว้หลายด้านเช่น ตำราสมุนไพรไทย บรรยายสรรพคุณด้านยาของสมุนไพรเอาไว้ว่า รสฉุน ร้อน ขับลมแก้ซาง แก้ท้องขึ้น ปวดท้องบำรุงธาตุ แก้จุดเสียดในท้อง ช่วยย่อยอาหาร
    ในตำราสมุนไพรไทย ได้จัดแบ่งสมุนไพรออกเป็นจำพวกต่างๆ รวมทั้งพิกัดอีกมากมาย ในจุลพิกัดซึ่งมีสมุนไพรกลุ่มละ 2 ชนิดนั้น ระบุถึงกลุ่มที่เรียกว่า ”กะเพราทั้ง 2 ” หมายถึง ส่วนราก ต้นใบ ดอก และ ผลของกะเพรา ซึ่งใช้ด้วยกันทั้งหมดในตำรานั้น ในตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณซึ่งมีอยู่ 6 ตำรับนั้น มีอยู่ตำรับหนึ่งชื่อว่า”ยาประสะกะเพรา” หมายถึง มีกะเพราเป็นสรรพคุณหลักของกะเพรานั่นเอง
    นอกจากนี้กะเพรายังเป็นส่วนประกอบของยาอีกมากมาย เช่น ยารักษาตานขโมยสำหรับเด็ก ยาแก้ทรางเด็ก และยากินให้มีน้ำนมสำหรับมารดาเป็นต้น ในต่างประเทศมีการใช้กะเพราเป็นยารักษาโรคอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าประเทศไทย เสียอีก โดยเฉพาะในอินเดียถือว่ากะเพราใช้รักษาโรคได้ทุกโรคเลยทีเดียวกะเพราเป็นพืช ที่ปลูกง่ายมากชนิดหนึ่งเพื่อแต่โรยเมล็ดลงบนพื้นดินแล้วรดน้ำพอชุ่มชื้น กะเพราก็จะงอกงามได้

ปลูกกล้วย

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การดักแมลง

 การดัดแมลง
                     ในการใช้กาวเหนียวดักแมลงให้ได้ผล  ควรทาเคลือบบนวัสดุสีเหลือง เช่น แกลลอนน้ำมันเครื่องสีเหลือง ถังพลาสติกสีเหลือง  ฟิวเจอร์บอร์ดหรืออื่นๆที่มีสีเหลือง เพราะแมลงศัตรูพืชจะชอบบินเข้าหาสีเหลืองมากที่สุด ซึ่งอาจจะใช้ถุงพลาสติกใสครอบวัสดุเหล่านั้นก่อนแล้วทากาวเหนียว ก็จะทำให้สะดวกต่อการเก็บทำลาย 

อุปกรณ์
1.แผ่นพลาสติกสีเหลืองหรือเศษวัสดุอย่างอื่นที่มีสีเหลือง
2.ถุงพลาสติกใส
3.เชือกหรือไม้
4.กาวเหนียว
      วิธีทำ
          1.ทากาวเหนียวด้วยแปรงสีฟันบนวัสดุที่เตรียมไว้ให้ทั่ว 
          2.นำกับดักไปวางติดตั้งบนหลักไม้หรือใช้เชืิอกผูกกับแผ่นสีเหลืองให้อยู่สูงกว่ายอดต้นผักเจริญเติบโตเต็มที่ แล้วเล็กน้อย หรือสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ห่างกันทุก 3 ตารางเมตร โดยใช้กับดักประมาณ 60-80 กับดัก/พื้นที่ 1 ไร่ ส่วนในฤดูที่มีการระบาดของศัตรูพืชน้อยอาจใช้เพียง 15 – 20 กับดัก/ไร่ 
           การทากาวเหนียวแต่ละครั้งจะอยู่ได้นาน 10-15 วัน แมลงศัตรูพืชที่เข้ามาติดกับดักกาวเหนียวสีเหลืองได้แก่  แมลงวันทอง แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่นและเพลี้ยอ่อน กาวเหนียว