วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กล้วยกรอบ

กิจกรรม

ประโยชน์ของกระเพรา

ประโยชน์ของกระเพรา

    กะเพรามีกลิ่นและรสชาติที่รุนแรงเฉพาะตัว จึงมักนิยมใช้ดับกลิ่นคาวในตำราอาหารไทยเช่น ผัดกบ ผัดปลาไหล ผัดหมู ฯลฯ พล่าปลาดุก พล่ากุ้ง ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นพวกแกงต่างๆ เช่น แกงเลียงใบกะเพรา สำหรับมารดากินหลังคลอดใหม่ๆ เพื่อขับลมบำรุงธาตุให้ปกติเป็นยาขับน้ำนม นอกจากนี้ยังมีแกงป่า แกงเขียวหวาน แกงคั่ว แกงส้มมะเขือขื่น แม้แต่ต้มยำต่างๆ ใส่ใบกะเพราผัดเผ็ดต่างๆทอดใบกะเพราให้กรอบแล้วนำมาโรยหน้าอาหาร ใส่อาหารได้สารพัดนอกจากที่กล่าวมา
    กะเพราจัดเป็นพืชสมุนไพรได้อย่างเต็มตัวชนิดหนึ่ง เพราะมีสรรพคุณรักษาโรคได้หลายชนิด ทั้งตำราไทยและต่างประเทศ ก็ระบุความเป็นสมุนไพรรักษาโรคได้ของกะเพราเอาไว้หลายด้านเช่น ตำราสมุนไพรไทย บรรยายสรรพคุณด้านยาของสมุนไพรเอาไว้ว่า รสฉุน ร้อน ขับลมแก้ซาง แก้ท้องขึ้น ปวดท้องบำรุงธาตุ แก้จุดเสียดในท้อง ช่วยย่อยอาหาร
    ในตำราสมุนไพรไทย ได้จัดแบ่งสมุนไพรออกเป็นจำพวกต่างๆ รวมทั้งพิกัดอีกมากมาย ในจุลพิกัดซึ่งมีสมุนไพรกลุ่มละ 2 ชนิดนั้น ระบุถึงกลุ่มที่เรียกว่า ”กะเพราทั้ง 2 ” หมายถึง ส่วนราก ต้นใบ ดอก และ ผลของกะเพรา ซึ่งใช้ด้วยกันทั้งหมดในตำรานั้น ในตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณซึ่งมีอยู่ 6 ตำรับนั้น มีอยู่ตำรับหนึ่งชื่อว่า”ยาประสะกะเพรา” หมายถึง มีกะเพราเป็นสรรพคุณหลักของกะเพรานั่นเอง
    นอกจากนี้กะเพรายังเป็นส่วนประกอบของยาอีกมากมาย เช่น ยารักษาตานขโมยสำหรับเด็ก ยาแก้ทรางเด็ก และยากินให้มีน้ำนมสำหรับมารดาเป็นต้น ในต่างประเทศมีการใช้กะเพราเป็นยารักษาโรคอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าประเทศไทย เสียอีก โดยเฉพาะในอินเดียถือว่ากะเพราใช้รักษาโรคได้ทุกโรคเลยทีเดียวกะเพราเป็นพืช ที่ปลูกง่ายมากชนิดหนึ่งเพื่อแต่โรยเมล็ดลงบนพื้นดินแล้วรดน้ำพอชุ่มชื้น กะเพราก็จะงอกงามได้

ปลูกกล้วย

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การดักแมลง

 การดัดแมลง
                     ในการใช้กาวเหนียวดักแมลงให้ได้ผล  ควรทาเคลือบบนวัสดุสีเหลือง เช่น แกลลอนน้ำมันเครื่องสีเหลือง ถังพลาสติกสีเหลือง  ฟิวเจอร์บอร์ดหรืออื่นๆที่มีสีเหลือง เพราะแมลงศัตรูพืชจะชอบบินเข้าหาสีเหลืองมากที่สุด ซึ่งอาจจะใช้ถุงพลาสติกใสครอบวัสดุเหล่านั้นก่อนแล้วทากาวเหนียว ก็จะทำให้สะดวกต่อการเก็บทำลาย 

อุปกรณ์
1.แผ่นพลาสติกสีเหลืองหรือเศษวัสดุอย่างอื่นที่มีสีเหลือง
2.ถุงพลาสติกใส
3.เชือกหรือไม้
4.กาวเหนียว
      วิธีทำ
          1.ทากาวเหนียวด้วยแปรงสีฟันบนวัสดุที่เตรียมไว้ให้ทั่ว 
          2.นำกับดักไปวางติดตั้งบนหลักไม้หรือใช้เชืิอกผูกกับแผ่นสีเหลืองให้อยู่สูงกว่ายอดต้นผักเจริญเติบโตเต็มที่ แล้วเล็กน้อย หรือสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ห่างกันทุก 3 ตารางเมตร โดยใช้กับดักประมาณ 60-80 กับดัก/พื้นที่ 1 ไร่ ส่วนในฤดูที่มีการระบาดของศัตรูพืชน้อยอาจใช้เพียง 15 – 20 กับดัก/ไร่ 
           การทากาวเหนียวแต่ละครั้งจะอยู่ได้นาน 10-15 วัน แมลงศัตรูพืชที่เข้ามาติดกับดักกาวเหนียวสีเหลืองได้แก่  แมลงวันทอง แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่นและเพลี้ยอ่อน กาวเหนียว















 


การทำปุ๋ยหม้ก


การทำปุ๋ยหมัก
                   
              การทำปุ๋ยหมักเป็น การนำเอาเศษซากหรือวัสดุต่าง ๆ ที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิตจากพืช  เช่น เศษหญ้า ใบไม้ ฟางข้าว ผักตบชวา   แต่ที่ผมทำผมจะใช้ใบไม้ที่ได้จากกวาดบริเวณบ้านมากองรวมกับหญ้าแห้งที่ได้จากแปลงผ้ก แล้วนำมาผสมกับขี้ไก่   จากนั้นก็นำสารพด.ผสมกับน้ำรดน้ำให้มีความชื้นพอเหมาะ  หมักไว้จนกระทั่งใบไม้หรือเศษวัสดุย่อยสลาย (ประมาณ 2 เดือน)  กลายเป็นขุยสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม มีลักษณะพรุน ยุ่ย ร่วนซุย
          



ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก
1. ช่วยเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์
2. ช่วยเปลี่ยนสภาพของดินจากดินเหนียวหรือดินทรายให้เป็นดินร่วนทำให้สะดวกในการไถพรวน
3. ช่วยสงวนรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ดีขึ้น
4. ทำให้การถ่ายเทอากาศในดินได้ดี
5. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยเคมีและสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้
6. ช่วยกระตุ้นให้ธาตุอาหารพืชบางอย่างในดินที่ละลายน้ำยากให้ละลายน้ำง่ายเป็นอาหารแก่พืชได้ดีขึ้น
7. ไม่เป็นอันตรายต่อดินแม้จะใช้ในปริมาณมาก ๆ ติดต่อกันนาน ๆ
8. ช่วยปรับสภาพแวดล้อม เช่น กำจัดขยะมูลฝอยและวัชพืชน้ำทั้งหลายให้หมดไป


                

ผักกวางต้ง

บวบ

บวบ
เป็น


วิธีการปลูกบวบ
1.เตรียมดิน
2.ขุดหลุมขุดหลุมปลูกระยะปลูก ระหว่างต้น75 ซม ระหว่างแถว 100 ซม.ใส่ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก
3.เมื่อเตรียมดินและหลุมปลูกแล้ว หยอดเมล็ด 3-4 เมล็ด กลบดิน คลุมด้วยฟาง รดน้ำให้ชุ่ม พร้อมทำค้างทันที  ควรปักค้างทันทีที่หยอดเมล็ดดีกว่าปักเมื่อมีต้นพืชงอกขึ้นมาแล้วอาจทำให้รากพืชขาดเสียหายได้ นอกจากนี้การปักค้างก่อนยังช่วยบอกตำแหน่งของหลุมที่ต้นพืชจะงอกขึ้นมาด้วย


การทำค้าง
การทำค้าง บวบ แตง ฟัก  พืชเหล่านี้มีมือจับเกาะยึดและทำหน้าที่ค้ำยันเถา พืชเหล่านี้มีเถาเลื้อยคลุมและมีแขนงมากมาก ต้องมีการทำค้างเพื่อลดการใช้พื้นที่ และสะดวกในการดูแลรักษา ของ บวบ ฟัก แฟง  โดยใช้ไม้ไผ่ที่มีลำต้นตรง ความยาว 2.5เมตร ปักตั้งฉากกับพื้นดินให้ลึกลงไปในดิน 50 ซม. สูงเหนือผิวแปลง 2 เมตร หลุมละ 1 ค้าง

การให้ปุ๋ย
- ใส่ปุ๋ยเคมี 15-15-15 ระหว่างเตรียมดิน และช่วงออกดอก
- ใส่ปุ๋ย 46-0-0 เมื่อกล้ามีอายุ 7-15 วัน อัตรา
- ใส่ปุ๋ย 13-13-21 เมื่อติดผล อัตราโดยโรยสองข้างของแถวปลูก พรวนดินกลบและให้น้ำตามทัน

การป้องกันโรคแมลง
หมั่นตรวจแปลงเพื่อดูการเข้าทำลายของแมลงเมื่อพบสามารถป้องกันการเข้าทำลายของแมลงด้วยการใช้กาวเหนียวดักแมลงหรือฉีดพ่นสารสกัดจากผลสะเดา หรือน้ำส้มควันไม้ ป้องกันกำจัดโรคและแมลง
 ศัตรูพืช

         
แมลงที่สำคัญ
ด้วงเต่าแตง, แมลงหวี่ขาว,เพลี้ยอ่อน,เพลี้ยไฟ,แมลงวันทองหรือแมลงวันแตง
                                                                     

 



อายุประมาณ 40-45 วันหลังปลูก โดยเก็บผลที่มีขนาดพอเหมาะไม่อ่อนหรือแก่เกินไป โดยเก็บเกี่ยวให้มี
ขั้วติดผลด้วยนะครับ
 


                                                               



การทำน้ำหมักชีวภาพ

  
 การทำน้ำหมักชีวภาพ

กล้วยและสัปรด
 หรือหัวปลาดุกที่ได้จากการทำปลาดุกร้า  ซึ่งคุณแม่เป็นสมาชิกกลุ่มแม่บ้านฯ
นำมาใส่ถัง
 ใส่กากน้ำตาล
 และเชื้อจุลินทรีย์
 ปิดฝา
 เปิดฝาและคน

 
 น้ำหมักชีวภาพ หรือ น้ำสกัดชีวภาพ  เป็นสารละลายเข้มข้นที่ได้จากการหมักเศษพืช หรือสัตว์ กับสารที่ให้ความหวาน จนถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการแล้วจะได้สารละลายเข้มข้นสีน้ำตาล ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ และสารอินทรีย์หลายชนิด

          ประโยชน์ทางการเกษตรโดยเฉพาะ แต่ช่วงหลังก็มีการนำน้ำหมักชีวภาพ มาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในด้านอื่นเช่นกัน คือ

          ด้านการเกษตร น้ำ หมักชีวภาพ มีธาตุอาหารสำคัญ ทั้งไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แคลเซียม กำมะถัน ฯลฯ จึงสามารถนำไปเป็นปุ๋ย เร่งอัตราการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น และยังสามารถใช้ไล่แมลงศัตรูพืชได้ด้วย

          ด้านปศุสัตว์ สามารถช่วยกำจัดกลิ่นเหม็น น้ำเสียจากฟาร์มสัตว์ได้ ช่วยป้องกันโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนการให้ยาปฏิชีวนะ ทำให้สัตว์แข็งแรง มีความต้านทานโรค ช่วยกำจัดแมลงวัน ฯลฯ

          ด้านการประมง ช่วยควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำ  ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กบ จระเข้ได้ ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ ช่วยให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมเป็นปุ๋ยหมักใช้กับพืชต่าง ๆ ได้ดี

          ด้านสิ่งแวดล้อม น้ำ หมักชีวภาพ สามารถช่วยบำบัดน้ำเสียจากการเกษตร ปศุสัตว์ การประมง โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชน และสถานประกอบการทั่วไป แถมยังช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากกองขยะ การเลี้ยงสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนต่าง ๆ นอกจากนี้ยังช่วยปรับสภาพอากาศที่เสียให้สดชื่น และมีสภาพดีขึ้น

         ประโยชน์ในครัวเรือน เราสามารถนำน้ำหมักชีวภาพ มาใช้ในการซักล้างทำความสะอาด แทนสบู่ ผงซักฟอก แชมพู น้ำยาล้างจาน รวมทั้งใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ โถส้วม ท่อระบายน้ำ ฯลฯ ได้ด้วย

         

        
          ทั้งนี้ มีเทคนิคแนะนำว่า
                      1 หากต้องการบำรุงส่วนใบพืช ก็ให้ใช้ส่วนใบยอดพืชมาหมัก
                      2 หากต้องการบำรุงผล ให้ใช้ส่วนผล เช่น กล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก เปลือกสับปะรด ฟักทองมาหมัก
                     3 หากต้องการใช้กำจัดศัตรูพืข ควรหมักสะเดา ตะไคร้หอม ข่า แยกต่างหากด้วย เมื่อจะใช้ก็นำมาผสมฉีดพ่นพืชผักผลไม้

          นอกจากนี้ หากใช้สายยางดูดเฉพาะน้ำใส ๆ จากน้ำหมักชีวภาพที่หมักได้ 3 เดือนแล้วออกมา จะเรียกส่วนนี้ว่า "หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ" เมื่อ นำไปผสมอีกครั้ง แล้วหมักไว้ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพอายุ 5 เดือน ซึ่งหากขยายต่ออายุทุก ๆ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อที่อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ และประสิทธิภาพสูงมากขึ้น



  ส่วนผสม : เราสามารถเลือกส่วนผสมจาก พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ อย่างหอยเชอรี่ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในการทำน้ำหมักชีวภาพ โดยสับเป็นชิ้นเล็ก 3 ส่วน, กากน้ำตาล 1 ส่วน (อาจใช้น้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลทรายขาว ผสมน้ำมะพร้าว 1 ส่วนแทนได้) น้ำเปล่า 10 ส่วน

          วิธีทำ : นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน แล้วบรรจุลงในถังหมักพลาสติก หรือขวดปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม นานประมาณ 3 เดือน แล้วจึงสามารถนำไปใส่เป็นปุ๋ยให้พืชผักผลไม้ได้ โดย

          ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อบำรุงใบพืชผักผลไม้

          ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตราส่วน 15-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน ให้ดินร่วนซุย

          ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน เพื่อกำจัดวัชพืช



วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเลี้ยงไก่พื้นเมือง


การเลี้ยงไก่พื้นเมือง
      วัคซีนป้องกันโรคระบาดไก่พื้นเมือง          การเลี้ยงไก่พื้นเมือง แม้ว่าจะมีการสุขาภิบาลที่ดี แต่โดยปกติสิ่งแวดล้อมจะมีเชื้อโรคอยู่ ซึ่งสามารถทำให้ไก่พื้นเมืองเป็นโรคได้ทุกเวลา ดังนั้น ผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองจึงต้องสร้างความต้านทานโรคโดยการให้วัคซีนป้องกันโรค ซึ่งควรให้ตั้งแต่ไก่พื้นเมืองอายุยังน้อยและสม่ำเสมอตามตารางที่กำหนด การให้วัคซีนจะให้ผลดีที่สุดต่อเมื่อ
        - สุขภาพของไก่พื้นเมืองแข็งแรง ไม่เป็นโรค
        - วัคซีนที่ใช้มีคุณภาพดี
        - เครื่องมือที่ใช้กับวัคซีนสะอาด และผ่านการต้มฆ่าเชื้อโรคแล้ว
       - ให้วัคซีนไก่พื้นเมืองครบตามขนาดที่กำหนด
       - ให้วัคซีนอย่างสม่ำเสมอและพยายามให้วัคซีนไก่พื้นเมืองที่มีสุขภาพดีทุกตัวในฝูงเดียวกัน
       - การให้วัคซีนแต่ละชนิดควรเว้นระยะห่างกันประมาณ 5-7 วัน

ตารางการให้วัคซีนป้องกันโรคระบาดไก่พื้นเมือง
วัคซีน
อายุไก่พื้นเมือง
วิธีให้วัคซีน
ขนาดวัคซีน
ระยะป้องกันโรค
นิวคาสเซิล
(ครั้งที่ 1 สเตรนเอฟ.)
1-3 วัน
หยอดจมูกหรือตา
1-2 หยด
3 เดือน
ฝีดาษ
(ครั้งที่ 1)
7 วัน
แทงปีก
1-2 ครั้ง
1-2 ปี
นิวคาสเซิล
(ครั้งที่ 2 สเตรนเอฟ.)
21 วัน
หยอดจมูกหรือตา
1-2 หยด
3 เดือน
นิวคาสเซิล
(สเตรนเอ็ม.พี.)
2 - 3 เดือน
แทงปีก
1-2 ครั้ง
6 เดือน
อหิวาต
2-3 เดือน
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
์1 ซี.ซี
. 3 เดือน
หลอดลมอักเสบ
(ครั้งที่ 1)
14 วัน
หยอดจมูกหรือตา
1-2 หยด
3 เดือน
หลอดลมอักเสบ
(ครั้งที่ 2)
28 วัน
หยอดจมูกหรือตา
1-2 หยด
3 เดือน



โรคระบาดไก่พื้นเมืองที่สำคัญและวิธีป้องกันรักษา
โรคนิวคาสเซิล (โรคห่า)
             โรคนิวคาสเซิล หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "โรคห่า" ถ้าไก่พื้นเมืองเป็นโรคนี้แล้ว ไก่พื้นเมืองจะมีอาการทางระบบหายใจและระบบประสาท คือ ไก่จะหายใจลำบาก น้ำมูกไหล หายใจดัง ชักกระตุก คอบิดเบี้ยว ขาปีกเป็นอันพาต เดินเป็นวงกลม เบื่ออาหาร และภายใน 2-4 วัน ไก่พื้นเมืองอาจจะตายหมด เป็นได้ทั้งไก่พื้นเมืองตัวเล็กและตัวใหญ่
              การป้องกัน ใช้วัคซีน สเตรนเอฟ. หยอดจมูกหรือตาลูกไก่พื้นเมืองที่มีอยู่ 1-3 วัน ทำวัคซีน เสตรนเอฟ. ซ้ำอีกเมือไก่พื้นเมืองมีอายุ 21 วัน สามารถป้องกันโรคได้ 3 เดือน เมื่อไก่พื้นเมืองมีอายุ 2 ? - 3 เดือน ใช้วัคซีนสเตรนเอ็ม.พี. แทงผนังปีก 1-2 ครั้ง สามารถป้องกันโรคได้ 6 เดือน
โรคหลอดลมอักเสบ
              โรคหลอดลมอักเสบ ถ้าไก่พื้นเมืองเป็นโรคนี้แล้ว ไก่พื้นเมืองจะมีอาการทางระบบหายใจ หายใจไม่สะดวก อ้าปากหายใจ หายใจเสียงดังน้ำมูกไหล ตาแฉะ
           การป้องกัน ทำวัคซีนหลอดลมอักเสบโดยหยอดจมูกหรือตา 1-2 หยดในลูกไก่พื้นเมืองเมื่อมีอายุ 14 วัน และทำวัคซีนหลอดลมอักเสบซ้ำอีกเมื่อลูกไก่พื้นเมืองมีอายุ 28 วัน สามารถป้องกันโรคได้ 3 เดือน
ข้อควรระวัน ห้ามใช้วัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ พร้อมกับวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล ควรใช้
วัคซีนชนิดนี้ห่างกันไม่น้อยกว่า 1 อาทิตย์
โรคฝีดาษ
              โรคฝีดาษ ถ้าไก่พื้นเมืองเป็นโรคนี้แล้ว ไก่พื้นเมืองจะมีเม็ดขึ้นตามใบหน้าหรือหงอน บางครั้งพบเม็ดสีเหลืองในบริเวณปากและลิ้น ไก่พื้นเมืองจะเจ็บปากและลิ้น กินอาหารไม่ได้ ถ้าเกิดมีโรคแทรกก็จะตายไปในที่สุด
           วิธีป้องกัน ทำวัคซีนฝีดาษไก่โดยการแทงผนังปีก 1-2 ครั้ง กับลูกไก่พื้นเมืองที่มีอายุ 7 วัน สามารถป้องกันโรคได้ 1 ปี
โรคอหิวาต์
              โรคอหิวาต์ จะพบมากในไก่พื้นเมืองที่มีอายุเกิน 2 เดือนขึ้นไปถ้าเป็นขั้นรุนแรง ไก่พื้นเมืองจะตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ถ้าเป็นชนิดธรรมดา ไก่พื้นเมืองจะแสดงอาการตัวร้อนจัด หายใจไม่สะดวก หงอนเหนียงเปลี่ยนเป็น สีดำคล้ำ
           การป้องกัน ทำวัคซีนอหิวาต์ไก่พื้นเมืองโดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1 ซี.ซี. กับไก่พื้นเมืองที่มีอายุ 2 เดือน
การรักษา ช่วยได้โดยการใช้ยาปฏิชีวนะหรือซัลฟาคิวน็อกซาลีนละลายน้ำให้กิน

โรคพยาธิไก่พื้นเมืองที่สำคัญและวิธีป้องกันรักษา
พยาธิภายนอกไก่
                พยาธิภายนอกไก่มีหลายชนิด เช่น ไร เหา และหมัด ถ้าไก่พื้นเมืองเป็นโรคนี้แล้ว พยาธิเหล่านี้จะคอยรบกวนไก่พื้นเมืองตลอดเวลาทำให้ผลผลิตลดลง โดยเฉพาะไก่พื้นเมืองตัวเมียจะทำให้ไข่ลดลง ฉะนั้นจึงควรกำจัดโรคนี้เสีย โดยมีวิธีการควบคุมและกำจัด ดังนี้
              1. ก่อนนำไก่พื้นเมืองเข้าขังในโรงเรือน ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น รางอาหาร รางน้ำ โรงเรือนเลี้ยงไก่พื้นเมือง โดยการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เช่น มาลาไธออนและโรทิโนน
              2. ควรใช้วัสดุปูฟื้นโรงเรือน เช่น แกลบที่ใหม่และไม่ชื้น เพราะบริเวณพื้นโรงเรือนมักจะมีไรไก่พื้นเมืองอาศัยอยู่มาก
              3. ในขณะที่เลี้ยงไก่พื้นเมือง เมื่อพบว่ามีไร เหา และหมัดเกิดขึ้นกับไก่พื้นเมือง ควรรีบกำจัดทันทีโดยใช้ยาตามคำแนะนำที่ฉลากยา
               4. ใช้สมุนไพร เช่น โล่ติ๊น หรือยาฉุนละลายน้ำ นำไก่พื้นเมืองมาจุ่มฆ่าพยาธิก็ได้
พยาธิภายใน
               พยาธิภายในไก่มีหลายชนิด เช่น พยาธิตัวแบน พยาธิตัวกลมและพยาธิเส้นด้าย ถ้าไก่พื้นเมืองเป็นโรคนี้แล้ว พยาธิเหล่านี้จะรบกวนไก่พื้นเมือง ทำให้แคระแกร็น เจริญเติบโตช้า และไข่ลด บางครั้งไก่พื้นเมืองอาจตายได้ สามารถกำจัดได้โดยใช้ยาเปปเปอราซีน ไดไฮโดรคลอไรด์ผสมกับอาหารให้ไก่กินทุก 1-2 เดือน



           ไก่พื้นเมืองจะเริ่มให้ไข่ เมืออายุประมาณ 6-8 เดือน จะไข่ โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ ปีละ 4 ครั้ง  ครั้งละ 8-12 ฟอง แม่ไก่พื้นเมืองเมื่อไข่หมดชุดแล้วจะเริ่มฟักไข่   ก่อนที่แม่ไก่พื้นเมืองจะฟักไข่ โดยจะออกหาอาหารกินในตอนเช้า ตอนกลางวันแม่ไก่จะขึ้นกกไข่วันละประมาณ  2 ชั่วโมง แล้วออกจากรังไปหากินอาหารสลับกันอยู่อย่างนี้    ในการฟักไข่นั้น แม่ไก่พื้นเมืองจะใช้เวลาฟักไข่จนออกเป็นตัวประมาณ 21 วัน เมื่อลูกไก่พื้นเมืองฟักออกหมดแล้ว ควรเอาวัสดุที่รองรังไข่รวมทั้งเปลือกไข่เผาทิ้งเสีย และทำความสะอาดรังไข่ไว้สำหรับให้แม่ไก่พื้นเมืองไข่อีกต่อไป

รับโล่รางวัลระดับเขต

รับโล่รางวัลสมาชิกยุวเกษตรกรดีเด่นระดับเขต เมี่อวันที่30 พฤศจิิกายน 2555 จากผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล
 ขอกำลังใจระดับประเทศด้วยนะครับ



วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ปลูกถั่วฝักยาว

ปลูกถั่วฝักยาว




เคล็ดลับการปลูกถั่วฝักยาวให้มีคุณภาพดี
1. ควรปลูกแบบวิธีทำค้าง โดยใช้ไม้ไผ่ปักเป็นแนวและใช้ตาข่ายขึง เพื่อให้ต้นถั่วไต่ จะทำให้ฝักถั่วยาวขึ้น ราคาดีขึ้น
2. ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพทุกๆ 10 – 15 วันต่อครั้ง หลุมละ 1 กำมือทำให้ได้ผลผลิตมากและนานกว่าปกติถึง 2 เดือน
3. รดน้ำผสมน้ำสกัดชีวภาพทุกครั้งเมื่อใส่ปุ๋ยชีวภาพเพิ่ม
4. ฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพ ป้องกันแมลง เพลี้ยอ่อน โดยเพิ่มกากน้ำตาลหรือผงซักฟอก ให้เป็นสารจับใบ
5. ตัดใบออกทิ้งบ้าง เพื่อให้ลำต้นนำสารอาหารไปเลี้ยงฝักถั่วมากขึ้น ทำให้ได้ฝักถั่วเพิ่มขึ้น
6. ควรปลูกถั่วฝักยาวในพื้นที่ ที่แสงแดดส่องถึง




ถั่ว ฝักยาว เป็นพืชเถาเลื้อยมีมือจับ แปลงปลูกถั่วฝักยาว โดยการทำค้าง จะให้ผลผลิตสูง ถั่วชนิดนี้เป็นผักที่ลูกง่ายโตเร็ว ปลูกได้ตลอดปี ในดินแทบทุกชนิด แต่ปลูกได้ดีในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรด-ด่าง ของดินอยู่ระหว่าง 5.5-6.0 ต้องการแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน ชอบอากาศค่อนข้างร้อน ถ้าอากาศหนาวเกินไปจะทำให้ชงักการเจริญเติบโตผลผลิตต่ำ ฝักไม่สวย ถั่วฝักยาวจะใ้ห้ผลผลิตดีในช่วงฤดูฝน อุณหภูมิที่เหมาะสม สำหรับการเจริญเติืบโตอยู่ในช่วง 15-30 องศาเซลเซียส สามารถประกอบอาหารได้หลายชนิด นอกจากจะเป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารแล้ว ยังสามารถช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้นอีกด้วยเพราะรากของถั่วฝักยาวเองสามารถ ตรึงไนโตรเจนจากอากาศไว้ในดินได้ดี

การเตรียมดินสำหรับปลูก

ยก ร่องแปลงกว้าง 1-1.20 เมตร ความยาวแล้วแต่สภาพแปลง ตากดินไว้ 7-10 วัน เพื่อทำลายไข่แมลง และศัตรูบางชนิดแล้วไถคราด ใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก เพื่อปรับสภาพโครงสร้างดิน

แปลงถั่วฝักยาว

 ทำ หลุมปลูก หลังปรับร่องแปลงให้ขุดหลุมปลูกระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระยะระหว่าง 80 เซนติเมตร รองกันหลุมด้วยปุ๋ยเคมี-อินทรีย์ตราบัวทิพย์ สูตร2 ในอัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม คลุกเคล้าให้เข้ากับดินแล้วหยอดเมล็ดลงไปหลุมละ 2-3 เมล็ด กลบหลุมด้วยปุ๋ยคอกหนา เพียงเล็กน้อย แล้วรดน้ำทุกวัน วันละครั้ง

การ ทำค้าง เนื่องจากถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ต้องอาศัยค้างเพื่อยึดเกาะพยุงลำต้น ดังนั้นควรทำไม้ค้างให้เพื่อจะได้ผลผลิตที่ดี และมีคุณภาพสูง โดยใช้ไม้ไผ่ยาว 2-2.5 เมตร การปักอาจปักแบบกระโจมเข้าหากัน แล้วรวบปลายไม้เข้าหากันหรืออาจจะปักตรงๆ แต่ละต้นก็ได้ หลังปักค้างเสร็จจับเถาถั่วพันรอบไม้ค้าง ต้องคอยทำทุกๆ 2-3 วัน



การปฏิบัติดูแลรักษา

การ ให้น้ำ ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอและเีพียงพอ ระยะเวลาการเจริญเติบโตของถั่วฝักยาว ควรเหมาะกับการให้น้ำในระยะอาทิตย์แรกหลังหยอดเมล็ดควรให้น้ำทุกวัน อย่าให้ดินแห้งแต่อย่าให้มากเกินไปเพราะจะทำให้เมล็ดอาจเน่าได้ ส่วนระยะการเจริญเติบโต และติดดอกออกผลอย่าให้ขาดน้ำเป็นอันขาด ควรให้น้ำทุกวันๆ 2 ครั้งในช่วงเช้าเย็น เพราะจะทำให้ดอกร่วง และไม่ติดฝัก หรือฝักอาจไม่สมบูรณ์

การใส่ปุ๋ยกับถั่วฝักยาว

- ใส่รองพื้นขณะเตรียมแปลงปลูก ใช้ปุ๋ยอินทรีที่หมักไว้
-อินทรีย์ตราบัวทิพย์ สูตร2 ในอัตรา 1 ช้อน ชาต่อหลุม
- ใส่เมื่อเริ่มเก็บผลผลิตถั่วฝักยาวครั้งแรก อายุประมาณ 45-50 วัน ให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ

การพรวนดินกำจัดวัชพืชทำทุกครั้งเมื่อมีการใส่ปุ๋ย



ารเก็บเกี่ยว

หลัง หยอดเมล็ดแล้วประมาณ 50-60 วัน สามารถเก็บเกี่ยวได้ ให้เลือกเก็บเฉพาะฝักที่ขนาดพอดี ไม่อ่อนเกินไป ควรเลือกเก็บในเวลาเข้าหรือเย็นๆ หลังเก็บเกี่ยวเสร็จควรรีบเก็บเข้าร่มทันทีเพื่อมิให้ถั่วฝักยาวเ(คำนี้ไม่ สุภาพ)่ยว และฝ่อเร็ว การเก็บให้ทยอยเก็บ 2-3 วัน/ครั้ง

อุปสรรคสำคัญในการปลูกถั่วฝักยาว คือ โรค ซึ่งจะทำให้คุณภาพและผลผลิตลดลงจนไม่สามารถส่งขายได้ โดยโรคต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้

โรคราเขม่า

เกิด จากเชื้อรา สูโดเซอร์คอสปอรา อาการคือ มักปรากฏอาการที่ใบแก่ตอนโคนต้นใบด้านบนจะเป็นปื้นสีขาวซีด เป็นดวงๆ พลิกดูใต้ใบจะพบคล้ายผงเขม่าสีเทาดำเมื่อระบาดรุนแรงจะพบผงเขม่ามากขึ้น แผลใหญ่ขึ้น ใบจะแห้งและหลุดร่วงไป แล้วลุกลามขึ้นด้านบนทำให้ใบที่อยู่กลางๆ ต้นเป็นโรคด้วย ทำให้ต้นถั่วโทรมเร็วและผลผลิตลดลง

การป้องกันกำจัด
1. ลดความชื้นในแปลงปลุกโดยเพิ่มระยะปลูกให้ห่างขึ้นหรือลดจำนวนต้นต่อหลุม
2. เมื่อพบเริ่มแรกควรรีบเก็บใบที่เป็นโรคเผาทำลาย หมั่นตรวจดูบริเวณส่วนล่างของต้นและใบในทรงพุ่ม เพื่อจะได้ป้องกันได้ทันที
3. ถ้าพบมากขึ้น แนะนำให้ใช้สารเคมีประเภทแมนโคเซปฉีดพ่นสลับกับเบนโนมิลหรือคาร์เบน ดาซิม
4. หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรทำความสะอาดแปลงปลูกทันที

โรคราแป้ง

เกิด จากเชื้อรา ออยเดียม อาการคือ จะพบผงสีขาว ทั้งด้านใต้ใบและบนใบ ถ้าเป็นมากผงสีขาวจะหนาแน่นมองเห็นชัดเจน เมื่อเอามือลูบจะหลุดออกเป็นแผ่นจะพบมากบริเวณโคนต้น แล้วลุกลามขึ้นด้านบน และผงสีขาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง และระบาดโดยปลิวไปตามลม

การป้องกันกำจัด
1. ไม่ควรเก็บเมล็ดพันธุ์จากต้นเป็นโรคไปทำพันธุ์
2. ควรรดน้ำต้นถั่วให้เปียกทั่วใบอย่างสม่ำเสมอ เพราะส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราแป้งนี้จะไม่งอก ถ้ามีละอองน้ำมากๆ
3. แปลงที่มีประวัติการระบาดของโรคนี้ควรพ่นสารป้องกันจำพวกกำมะถันผงละลายน้ำ หรือคาราเทน ควรพ่นในตอนเย็นที่หมดแดดแล้ว (สารดูดซึมอื่นๆ มีอีกหลายชนิดแต่ราคาแพงไม่คุ้มกับการลงทุน แต่ในฤดูที่ถั่วยาวมีราคาสูง อาจใช้สารประเภทดูดซึมฉีดพ่นก็ได้)
4. แปลงที่เป็นโรคมากควรรื้อและเผาทำลายทันที ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อโรคต่อไป

โรคราสนิม

เกิด จากเชื้อรา ยูโรมายเซส อาการคือ จะพบที่ใบแก่เป็นส่วนมาก โดยมีตุ่มนูนขนาดเล็กๆ สีเหลืองซีด ตรงกลางตุ่มมีแผลแตก ซึ่งจะมีผงสีสนิมเหล็กเกาะอยู่เป็นกลุ่ม เมื่อโรคระบาดมากขึ้น จำนวนจุดต่อใบจะมากขึ้นลุกลามจากส่วนล่างๆ สู่ส่วนบนของต้น และใบที่เป็นมากจะเหลืองและร่วงหล่นไป มักจะพบอยู่เสมอในทุกๆ แหล่งที่มีการปลูกถั่วฝักยาว

การป้องกันกำจัด
1. หมั่นตรวจดูแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะใบในทรงพุ่มและใบแก่ตอนล่างของต้น
2. ถ้าพบโรคนี้ ควรพ่นด้วยสารจำพวกกำมะถันผง ละลายน้ำ หรือสารประเภท แมนโคเซป
3. แปลงปลูกที่ทรุดโทรมแล้ว ควรรีบรื้อออกและเผาทำลายเพื่อตัดต้นตอของโรคที่จะระบาดในการปลูก ครั้งต่อไป

โรคใบด่าง

เกิด จาก เชื้อวิสา มีแมลงปากดูดเป็นพาหะ อาการคือ จะพบโรคใบด่างได้ทั่วทุกแปลงที่ปลูกถั่วฝักยาว อาการคือใบจะด่าง สีเหลืองสลับเขียวอ่อนและขาวซีด จะเห็นได้ชัดเจนโรคนี้จะแพร่กระจายโดยติดไปกับเมล็ดพันธุ์หรือแมลงปากดูดถ้า เป็นกับต้นถั่วที่ยังเล็ก จะไม่ให้ผลผลิต

การป้องกันกำจัด

ยัง ไม่มีคำแนะนำในเรื่องการใช้สารเคมี แต่มีแนวทางป้องกันโดยเริ่มจากการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์จากต้นที่แข็งแรง สมบูรณ์ไว้ทำพันธุ์ กำจัดต้นที่เป็นโรคทิ้งไป และพ่นสารเคมีป้องกันแมลงปากดูดเพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของโรคนี้




การปลูกผักหวาน

การปลูกผักหวาน



ปลูกผักหวานบ้าน
ปลูกไว้ประจำครัวเรือน มีพื้นที่มากก็ปลูกมาก มีพื้นที่น้อยก็ปลูกน้อย หากปลุกได้มากเหลือจากการบริโภคก็ขายได้ 

         ผักหวานบ้าน เป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ผู้ใหญ่จะเก็บมาประกอบเป็นอาหารสำหรับนำมารับประทานในครัวเรือน แกงเลียง แกงส้ม ผัดและ ผักลวกรับประทานกับน้ำพริก หรือ จะรับประทานแบบสดๆก็ได้ ผักหวานเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน แต่ต้องมีน้ำหล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอ ก่อนจะปลูกเกษตรกรควรที่จะยกร่อง เพื่อความสะดวกในการระบายน้ำในกรณีที่ฝนตกหนัก การปลุกผักหวานจะใช้วิธีปักชำหรือเพาะเมล็ดก็ได้ แต่การปักชำจะสะดวกกว่า เลือกกิ่งกลางอ่อนกลางแก่ตัดให้ได้ความยาวประมาณ 1 คืบ ปักลงในแปลง ระยะห่างระหว่างต้น 50เซนติเมตร ระหว่างแถว 1 เมตร ผักหวานบ้านเป็นพืชที่ปลูกง่าย แตกรากได้เร็ว หากปลูกในช่วงฤดูฝน ประมาณ 7-10 วัน รากก็จะจับดินแล้ว ไม่ต้องเพาะในถุงก็ได้ พื้นที่ 1 ไร่ปลูกได้ 3200 ต้น

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ดูด๊ๆมีประโยชน์

       วัสดุที่ใครหลายคนคิดว่าเป็นขยะแล้วนำไปทิ้ง  แต่ผมว่าเราน่าูจะมาดูกันใหม่ว่าเราใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าแล้วยัง
       อันนี้ก็สามารถลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ด้วยนะครับ






อันนี้เป็นท่อนไม้ที่ผมนำมาทำเป็นแปลงผัก

ประโยชน์ของปลา


ประโยชน์ของปลาhttp://www.yourhealthyguide.com/article/an-fish-worth-2.html

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การทำบัญชีดีอย่างไร


การทำบัญชีดีอย่างไร
1 รู้รายรับรายจ่ายในแต่ละวัน
2 ทำให้วันต่อๆไปใช้เงินประหยัดขึ้น
3 ช่วยพัฒนานิสัยในการใช้เงินอย่างเป็นระบบและมีระเบียบแบบแผน